โครงการปฏิรูปการศึกษาเพื่อเด็กและชุมชน – มูลนิธิเด็ก
วันที่ 21 ตค.2557 ดิฉันได้ติดตามผู้ประสานงานโครงการ ฯ
มารับฟังงานในปีนี้ของโรงเรียนปริยัติธรรม( สามเณร )
วัดนิโครธาราม โรงรียนสามเณร สำหรับเด็กยากจนและเด็กกำพร้าจำนวน 139 คน อ.ท่าวังผา จังหวัดน่าน
ท่านพระอาจารย์คงศิลป์ ผู้อำนวยการโรงเรียนท่านบรรยายการทำงานว่า ปี2556
เน้นที่เทศน์มหาชาติ เพราะเป็นประเพณีที่กำลังจะสูญหายไปจากอำเภอท่าวังผา
โรงเรียนนี้อยู่ในเขตตำบลหนองบัว พ่ออุ้ยยังคิดถึงประเพณีที่ดีนี้อยู่
ทางโรงเรียนฯ จึงปฏิรูปโดยการจัดการศึกษาแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ ( PLC )
นั่นคือ พระอาจารย์ผู้อำนวยการโรงเรียนท่านจัดให้เณรเรียนกับผู้รู้ในแต่ละพื้นที่
เช่นเทศน์มหาชาติท่านมีพ่ออุ้ยซึ่งเคยบวชพระและเทศน์เก่งมาสอน พุทธศิลป์
ท่านพาเณรมาเรียนกับเจ้าอาวาสวัดที่อยู่ไม่ไกลจากวัดนิโครธารามซึ่งเป็นที่
ตั้งของโรงเรียน ฯ เณรและครูเก็บข้อมูลชุมชนหนองบัว
โดยมี่ท่านเจ้าอาวาสวัดหนองบัวเป็นผู้สอนทำให้รู้จักวัดหนองบัวมากขึ้น
วัดนี้มีภาพฝาผนังโบสถ์ยุคเดียวกับวัดภูมินทร์
ดิฉันชอบไปวัดตอนบ่ายฟังสะล้อ ซอ ซึง ของชมรมผู้เฒ่าจาก 3 อุ้ย
และจะสมทบเงินช่วยชมรม ฯ ปลายปีที่แล้วโรงเรียน ฯ จัดงานประกวดเทศน์มหาชาติ
โดยมีเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม 3 โรงเรียนมาเทศน์ให้กรรมการฟัง
อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ท่ายบรรยายให้แขกและครูเข้าใจในความสำคัญของเทศน์มหาชาติ
ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนมาเยี่ยมชมหมู่บ้านเด็ก เกิดแรงบันดาลใจคิดว่าจะทำโครงการหมู่บ้านเณร
เพราะมีเณรหลายคนที่เป็นกำพร้า ดิฉันได้เสนอแนะท่านในแนวคิดการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ให้ท่านฟัง
ท่านจึงเริ่มนำความคิดของการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มาใช้โครงการนี้
และใ นปีนี้ ปี2557 ท่านปรับกระบวนการเรียนรู้ให้มีทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ฯลฯ
มาทำหลักสูตรและลงมือปฏิบัติเสริมหลักสูตรดนตรี กลองสะบัดชัย
ซึ่งวัดเป็นต้นกำเนิดสอนพระและเณร สวดเบิก สลากภัตร ปาฐกถาธรรม
นำมาเป็นหลักสูตรการเรียนด้วย พบว่าหลักสูตรท่านใช้ประสาทสัมผัสทั้งหก
และการสร้างเซลล์สมองเชื่อมซีกซ้ายและซีกขวา โดยการใช้มือตีกลองไขว้ไปมา
การลงมือทำในบรรยากาศสงบเท่ากับเณรได้ปฏิบัติและมีผลต่อการจดจำ
ครูทุกท่านบอกมีความสุขในการทำงานขึ้นหลังจากปรับหลักสูตรใหม่
มูลนิธิเด็กให้ทุนสนับสนุน 75% น่าปลื้มใจที่แผนงานปี 2558 ท่านจะทำอาศรมสามเณรอีกโครงการหนึ่ง
โรงเรียนพระปริยัติธรรม มุ่งให้เด็กเรียนเพื่อเอาวุฒิการศึกษาสำหรับเด็กยากจนที่มาอาศัยเรียน
และ หวังว่าจะสึกไปประกอบอาชีพ ส่วนอาศรมสามเณรฝึกการภาวนา
และเตรียมให้เสามเณรเป็นพระภิกษุที่พัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุด (อรหันต์ )
ดิฉันไปร่วมร่างหลักสูตรทั้ง สองแห่งด้วย และมีเพื่อนจากสถาบันพุทธนานาชาติมาร่วมทำงานด้วย
รัชนี ธงไชย
ครูใหญ่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก