ปีใหม่ มาทักทาย
ขอใจกาย มีพลัง
รื่นรมย์ สุขสมหวัง
มั่งมีมิตรและไมตรี
………
พบพานแต่เรื่องดีงาม
สุขภาพกายและใจเข็มแข็งตลอดปี ๒๕๕๘ นะคะ
จากใจ ชาวสถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก
ดูแลสุขภาพที่ดีของคุณไทย
ปีใหม่ มาทักทาย
ขอใจกาย มีพลัง
รื่นรมย์ สุขสมหวัง
มั่งมีมิตรและไมตรี
………
พบพานแต่เรื่องดีงาม
สุขภาพกายและใจเข็มแข็งตลอดปี ๒๕๕๘ นะคะ
จากใจ ชาวสถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก
จะมีการจัดงาน Pokémon Together, Let’s Meet Pikachu เนรมิตสยามพารากอนให้เป็นดินแดนโปเกมอนเวิลด์แห่งเขตคาลอส ในงานก็จะมีตัว พิคาชู มาให้เด็กๆ ได้เจอด้วย และก็มีกิจกรรมแจกรางวัลต่างๆ น่าพาเด็กๆ หรือผู้ใหญ่ที่เป็นแฟนโปเกม่อนไปเที่ยวกัน และชมภาพยนตร์แอนิเมชั่น ฟอร์มยักษ์ อันดับ 1 ตลอดกาล “Pokémon the Movie: Diancie and the Cocoon of Destruction” ตอนล่าสุดส่งตรงจากญี่ปุ่น ฟรี! สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ในช่วงวันเด็กระหว่าง 10 – 11 มกราคม 2558 ณ โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ 15 โรงทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล http://pokemon.truelife.com/
พอดีเดือนสิงหา มีหนังสือที่เราอยากแบ่งปัน
สามารถกดไลค์ เพจ อ่านสร้างภาพ แล้วทำตามกติตา หนังสือแต่ละเล่มที่แจกได้เลยนะคะ
https://www.facebook.com/actandread
เลือกกดดูที่อัลบั้ม a book to share
ส่งข้อความหนังสือที่อยากได้
เดี๋ยวส่งให้คนที่อยากได้ค่า
PUEY Talks 12x12
( 12 บุคคล….12 บทเรียนเรื่องราวแรงบันดาลใจที่ได้รับจากปูชนียบุคคล )
โครงการเตรียมงานรำลึก 100 ปี ชาตกาล ศ. ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ( 2549 -2559 )
ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ ( แยกปทุมวัน )
12:00 – 13.00 น. ลงทะเบียนหน้าห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1
13:00 – 14.30 น. PUEY Talks ช่วงที่ 1 ( กำหนดพูดท่านละ 12 นาที )
· ครูดุษฏี พนมยงค์ – สวนพลูคอรัส ( เพลง คนดีมีค่า และ เพลงคนทำทาง )
· อาจารย์เทพศิริ สุขโสภา – ศิลปินนักวาด นักเขียน
· ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล – ประธานกรรมการสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์
· พระศากยวงค์วิสุทธิ์ – พระอาจารย์นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์
· นายกษิดิศ อนันนทนาธร – นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มธ.
· นายสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง – นักธุรกิจ
· อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ – นักเดินเท้าเพี่อความรักและศานติ
14:45 – 16:00 น. PUEY Talks ช่วงที่ 2 ( กำหนดพูดท่านละ 12 นาที )
· ครูดุษฏี พนมยงค์ – สวนพลูคอรัส ( เพลง Imagine และเพลงลมหายใจแห่งสันติ )
· ปิยศิลป์ บุลสถาพร – ผู้กำกับละครเวที “ เพื่อชาติ เพื่อ humanity “
· ดร. วีระ สมบูรณ์ – นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
· นส. สฤณี อาชวานันทกุล – นักวิชาการอิสระด้านการเงิน
· นายวันฟ้าใหม่ เทพจันทร์ – กวีหนุ่ม
· อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ – เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
· อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ – ปัญญาชนสยาม
(ดำเนินรายการโดย อาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง – นักวิชาการสายปรัชญา ฉายา เชฟหมี )
16:15 – 17:00 น. ละครเวที “ รอยย่ำ….. ที่นำเราไป” โดยคณะมะขามป้อม เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่ของบุคคลในอุดมคติ 3 ท่าน
ได้แก่ ครูโกมล คีมทอง ศ. ศิลป์ พีระศรี และคุณสืบ นาคะเสถียร โดยนำบางฉากในชีวิตของทั้งสามท่านมาตีความผ่านมุมมองคนรุ่นใหม่
……………………………………………………………………………………………………………..
17:00 – 20:00 น. งานเปิดตัวหนังสือ ไตรทัศน์วิจารณ์ว่าด้วยพุทธศาสนา สถาบันกษัตริย์
และประชาธิปไตย ของ ส.ศิวรักษ์ เขียนโดย สุรพจน์ ทวีศักดิ์
สามัคคีวิจารณ์โดย ศ. ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล พิภพ อุดมอิทธิพงศ์
ดำเนินรายการโดย ถนอมสิงห์ โกศลนาวิน (เนื่องในวาระ ๘๑ ปี ปัญญาชนสยาม )
จัดโดย มูลนิธิเสถียรโกเศศ-นาคะประทีป
(เข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย – จำนวน ๒๐๐ ที่นั่ง ติดต่อคุณพัชรศิริ 086-7636644 )
๔๖๐ ซ.จรัญสนิทวงศ์ ๖๗ บางพลัด กทม. ๑๐๗๐๐
โทรศัพท์ (Tel) (66) 02-881-1734
โทรสาร (Fax) (66) 02-424-6404, 02-424-6280
รูปไม่ขึ้นค่ะ ส่งเป็นลิงค์เพื่อให้ตามไปดูน่าจะสะดวก กว่านะคะ
อาจจะลองหาที่ฝากรูปใหม่ และลิงค์มาให้ เพื่อจะได้ดูกันได้ค่ะ
ขอบคุณที่แบ่งปันนะคะ
admin : jeejy
นักศึกษาใหม่ทั้งหลายอาจไม่รู้ว่าตัวเองเป็นคนโชคดีแค่ไหนในโลก ลองดูตัวเลขสักเล็กน้อย ประชากรโลกในปัจจุบันคือ 6,000 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเพียงครึ่งเดียวคือ ประมาณ 3,000 ล้านคน เท่านั้นที่มีอาหารกินครบทุกมื้อ มีชีวิตที่มั่นคงและเป็นปกติพอควร สมศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ในจำนวน 3,000 ล้านคนนี้ มีไม่ถึงร้อยละ 10 หรือ 300 ล้านคน ที่มีโอกาสเรียนในระดับอุดมศึกษา
นั่นแสดงว่าจำนวนคน 300 ล้านคน ในประชากรโลก 6,000 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น ที่มีโอกาสอย่างท่านทั้งหลายในขณะนี้ ที่มีความหวัง มีอนาคตสดใส มีงานที่ดีมั่นคง มีเกียรติมีศักดิ์ศรี มีชีวิตที่สุขสบาย มีโอกาสที่จะทำประโยชน์ให้แก่ครอบครัวและคนอื่นๆ ร่วมสังคมของเรารออยู่ข้างหน้า นี่คือความโชคดีมหาศาลที่ท่านอาจไม่ทราบมาก่อน
ยิ่งไปกว่านั้นท่านยังมีร่างกายสมประกอบ แข็งแรง สุขภาพดี มีหน้าตาสดใส สดสวย และมีมันสมองที่ดีพอจะเรียนในระดับมหาวิทยาลัยอีกด้วย คนจำนวนมากมายในโลกนั้น ขอเพียงมีอาหารครบทุกมื้อไม่ต้องถึงกับได้เรียนมหาวิทยาลัยก็มีความสุขสุดๆแล้ว
ปัญหาก็คือ เมื่อเราเกิดมาโชคดีขนาดนี้ มีความหวังและสิ่งดีๆ รออยู่ข้างหน้าแล้ว เราจะทำอย่างไรกับชีวิตของเราในช่วง 4 ปีข้างหน้า เรื่องนี้น่าขบคิดเป็นอย่างมากเพราะหมายถึงว่าเราจะทำให้สิ่งที่เชื่อว่าดีในอนาคตนั้นดีจริงและดีอย่างเป็นเลิศได้อย่างไร
จากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียน ที่อยู่ในแวดวงอุดมศึกษามากว่า 30 ปี ที่เห็นคนเดินเข้ามหาวิทยาลัยตั้งแต่วันแรกและจบออกไปจำนวนมากมาย มีทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลวจากชีวิต 4 ปีในมหาวิทยาลัย
ขอยืนยันได้ว่าสิ่งที่ทำให้คนเหล่านี้แตกต่างกันนั้นไม่ใช่ไอคิวหรือพื้นฐานความรู้ดั้งเดิมที่มีมา หากแต่เป็นทัศนคติของเขาเองที่มีต่อการศึกษาระดับอุดมศึกษา เมื่อเริ่มเข้าเรียนซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรมของเขาในมหาวิทยาลัยต่อไป
คนที่ประสบความสำเร็จนั้นจะเป็นคนที่ตระหนักดีว่า โอกาสในชีวิตของคนๆ หนึ่งที่จะได้เรียน ในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มเวลานั้นมีจำกัดยิ่ง
ถ้าหากล้มเหลวไม่จบแล้ว โอกาสที่สองนั้นเกิดขึ้นได้ยากนักหนา เพราะไหนอายุจะมากขึ้น สมองช้าลง ความจำเป็นในการทำงานหาเลี้ยงชีพก็มีมากขึ้น ความรับผิดชอบในชีวิตของคนอื่นที่กิน ทั้งเวลาและเงินทองนั้นก็มีมากขึ้น และการหวนกลับมาเรียนอย่างอิสระเช่นคนวัยนี้นั้นเป็นสิ่งที่เกือบจะเป็นไปไม่ได้
คนที่ประสบความสำเร็จนั้น จะมองเห็นชัดเจนว่า 4 ปีข้างหน้า คือช่วงเวลาแห่งการไต่บันไดสู่ชีวิต แห่งความกินดีอยู่ดี มีเกียรติ ได้รับการยกย่องจากญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านและสังคม ซึ่งหมายถึงการตั้งใจที่จะบากบั่นศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มกำลัง ขวนขวายหาความรู้ ฝึกฝนพัฒนาบุคคลิกภาพของตนเอง ซึ่งอาจได้มาจากการร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัย เพื่อทำให้บันไดนั้นทอดไปสู่ความมั่งคั่งสมบูรณ์อย่างแท้จริง
คนที่ประสบความสำเร็จจะไม่มองว่าความรู้เดินมาหาตนเอง ไม่มองว่าความรู้มาจากการงัดปากและป้อนด้วยคณาจารย์ หากมองว่ามาจากความบากบั่น อดทน ขยันหมั่นเพียร ในการแสวงหาความรู้จากอาจารย์ จากการอ่านหนังสือ จากการคิดวิเคราะห์ จากการถกเถียงทางวิชาการ จากการฝึกฝนเล่าเรียนด้วยสื่อการสอนสาระพัดชนิดที่มหาวิทยาลัยจัดหาไว้ให้ด้วยตนเอง
คนเหล่านี้จะมองว่าทางลัดสู่การมีความรู้และการมีชีวิตแห่งความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืน มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีนั้นไม่มีทุกอย่างล้วนได้มาด้วยความบากบั่น ต้องเดินตามเส้นทางที่เป็นไปตามขั้นตอนเท่านั้น คนที่ประสบความสำเร็จนั้นตระหนักว่าทุกคนมีความเก่งกันคนละอย่าง โลกมิได้มีแต่ความเก่งในเรื่องการคิดวิเคราะห์ ซึ่งทำให้สอบได้เก่งเท่านั้น ยังมี…
ความเก่งในการมีมนุษย์สัมพันธ์กับคนอื่น
ความเก่งในเรื่องกีฬาและศิลปะ
ความเก่งในเรื่องการพูดโน้มน้าวใจคนอื่น
ความเก่งในเรื่องการจัดสัดส่วนและช่องว่าง อันเป็นฐานสำคัญของการเป็นสถาปนิกหรือช่างศิลปะ
ความเก่งในเรื่องการจัดการอารมณ์ของตนเองและคนอื่น
ความเก่งในเรื่องดนตรี ฯลฯ
เขาเหล่านี้ตระหนักดีว่าโลกเต็มไปด้วยคนเก่งหลายลักษณะ และกลุ่มคนที่ครองโลกเพราะมีจำนวนมากที่สุดนั้น ก็คือคนที่มีความเก่งในเรื่องเหล่านี้อย่างปานกลาง
หากมีทักษะความรู้และคุณลักษณะประจำตน ในเรื่องศีลธรรม จริยธรรม และคุณธรรมอื่นๆ ประกอบอย่างสำคัญ คนที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ มองว่าตัวเขาเองเป็นคนมีค่า ชีวิตของเขาสามารถสร้างสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเอง ต่อครอบครัว และต่อผู้อื่นเพราะตระหนักว่าใน 100 คนในโลก มีคนที่มีโอกาสและมีสติปัญญาสามารถเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้เพียง 5 คนเท่านั้น ถ้าเขาไม่เอาไหนเลยก็คงจะไม่มีโอกาสได้อยู่ในกลุ่มคนที่ฝรั่งเรียกว่า TOP 5 % ของโลกเป็นแน่
มนุษย์เลือกที่เกิดไม่ได้ เลือกที่จะมีหน้าตาสวยหรือหล่อสุดๆ ไม่ได้ เลือกที่จะร่ำรวยมั่งคั่งไม่ได้ และเลือกที่จะได้สิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกการควบคุมของตนเองไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่มนุษย์เลือกได้อย่างแน่นอน และอยู่ภายใต้การควบคุมของตนเองก็คือ ทัศนคติในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งทัศนคติต่อการเรียนมหาวิทยาลัย
เชื่อเถอะว่านักศึกษาในวันนี้จะเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีอนาคตแห่งการกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืน หรือเป็นบุคคลล้มเหลว เรียนไม่จบมหาวิทยาลัยและเสียดายโอกาสทองของชีวิตในวันข้างหน้านั้นอยู่ที่ตัวทัศนคติ เมื่อแรกเริ่มเรียนมหาวิทยาลัยนี่แหละเป็นตัวตัดสิน
โดย อ.วรากรณ์ สามโกเศศ
ที่มา…ศูนย์สนเทศและห้องสมุด ม.ธุรกิจบัณฑิตย์
http://www.dpu.ac.th/laic/page.php?id=6033
http://www.facebook.com/LoveAtFirstRead2?ref=ts&fref=ts
๔๖๐ ซ.จรัญสนิทวงศ์ ๖๗ บางพลัด กทม. ๑๐๗๐๐
โทรศัพท์ (Tel) (66) 02-881-1734
โทรสาร (Fax) (66) 02-424-6404, 02-424-6280
๔๖๐ ซ.จรัญสนิทวงศ์ ๖๗ บางพลัด กทม. ๑๐๗๐๐
โทรศัพท์ (Tel) (66) 02-881-1734
โทรสาร (Fax) (66) 02-424-6404, 02-424-6280
ม่อเอี๋ยน – นักเขียนจีน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมปี 2012 กล่าวถึงอิทธิพลของนักแปลต่อวรรณกรรมไว้น่าฟังมาก …
เพราะเราแปลหนังสือและรักงานแปล จึงขอแปลส่วนหนึ่งจากปาฐกถาของม่อเอี๋ยนเกี่ยวกับการแปลมาฝากเพื่อนนักแปลและนักอ่าน … ในวันเบิกปีใหม่นี้เลยค่ะ ^_^
* * * * * *
… ม่อเอี๋ยนปราศรัยในงานก่อตั้ง “สถาบันศึกษาค้นคว้าวรรณกรรมโลก” แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2001 และพูดถึงนักแปลไว้ดังนี้ .. : ..
นักแปลมีอิทธิพลมหาศาลต่อวรรณกรรม ไร้ซึ่งนักแปล แนวคิดเกี่ยวกับ “วรรณกรรมโลก” ก็เป็นคำที่ว่างเปล่า มีแต่ผ่านการทำงานในลักษณะสร้างสรรค์ของนักแปล ความเป็นสากลของวรรณกรรมจึงเป็นจริงได้ หากไร้ซึ่งการทำงานของนักแปล หนังสือของตอลสตอยก็จะเป็นเพียงหนังสือของชาวรัสเซีย หากไร้ซึ่งการทำงานของนักแปล หนังสือของบัลสักก็จะเป็นเพียงหนังสือของชาวฝรั่งเศส ทำนองเดียวกัน หากไร้ซึ่งการทำงานของนักแปล โฟล์กเนอร์ก็เป็นโฟล์กเนอร์ของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ มาร์เกซก็เป็นมาร์เกซของประเทศที่ใช้ภาษาสเปนได้เท่านั้น และอีกเช่นกัน หากไร้ซึ่งการทำงานของนักแปล งานวรรณกรรมจีนก็ไม่สามารถสู่สายตาของนักอ่านชาวตะวันตก
ถ้าไม่มีนักแปล การแลกเปลี่ยนทางวรรณกรรมในขอบข่ายทั่วโลกก็ไม่อาจดำรงอยู่ หากไม่มีการแลกเปลี่ยนทางวรรณกรรมในขอบข่ายทั่วโลก วรรณกรรมโลกจะไม่มีทางรุ่มรวยหลากสีสันเช่นที่เป็นอยู่ในวันนี้อย่างแน่นอน หลู่ซิ่นเคยกล่าวไว้ว่า “โลกมีวรรณกรรม หญิงสาวมีสะโพกอวบเต็ม” ไม่มีสะโพกที่อวบเต็ม หญิงสาวย่อมไม่ใช่หญิงสาวที่สมบูรณ์ ไร้วรรณกรรม โลกก็ไม่อาจเป็นโลกที่สมบูรณ์ จากนี้จะเห็นได้ว่า “สถาบันศึกษาค้นคว้าวรรณกรรมโลก” ของเรานี้เป็นองค์กรที่สำคัญเพียงไร !
ผมเองในฐานะนักเขียนที่เกิดในทศวรรษที่ 80 แห่งศตวรรษก่อน ได้รับรู้ความสำคัญของการศึกษาจากวรรณกรรมต่างประเทศด้วยตัวเอง หากไม่มีนักแปลเก่งๆ แปลวรรณกรรมต่างประเทศจำนวนมากให้เป็นภาษาจีน กลุ่มนักเขียนที่ไม่รู้ภาษาต่างประเทศอย่างพวกเราก็ไม่อาจเข้าใจถึงความสำเร็จอันงดงามที่วรรณกรรมต่างประเทศได้สร้างขึ้น หากไม่มีการทำงานในลักษณะสร้างสรรค์ของนักแปลของเรา วรรณกรรมจีนในปัจจุบันย่อมไม่เป็นเช่นที่เป็นในขณะนี้ แน่นอนที่มีนักเขียนบางคนปฏิเสธที่จะยอมรับอิทธิพลของวรรณกรรมต่างประเทศต่อตนเอง ทำราวกับว่าอย่างนี้แล้วจะแสดงความไม่ธรรมดาของตน ที่จริง นี่เป็นความเสแสร้งที่ไม่จำเป็น การยอมรับว่าได้ศึกษาหยิบยืมจากวรรณกรรมต่างประเทศไม่ได้กระทบต่อความยิ่งใหญ่ของคุณ นักแปลก็ไม่ได้มาแบ่งเงินค่าเขียนของคุณ หลู่ซิ่นทำมาแล้ว กวา ม่อ ยั่วทำมาแล้ว เหมาตุ้น ปาจินก็ทำมาแล้ว (เหล่านี้เป็นนักเขียนจีนร่วมสมัยซึ่งชาวจีนยอมรับในความยิ่งใหญ่) การทำเช่นนี้ไม่กระทบความยิ่งใหญ่ของพวกเขาแม้แต่น้อย ทว่า อาจจะด้วยการทำเช่นนี้เองที่ทำให้พวกเขายิ่งใหญ่ แน่ล่ะ ต้องมีคนย้อนว่า เฉา เสว่ ฉิน ไม่รู้ภาษาต่างประเทศ ก็เขียนงานยิ่งใหญ่เช่น “ความฝันในหอแดง” ได้ไม่ใช่เรอะ? คำตอบของผมคือ เฉา เสว่ ฉินมีพรสวรรค์ คนมีพรสวรรค์ก็ย่อมไม่ต้องหยิบยืมใคร แต่ถ้าจะเถียงให้ได้ ก็ยังพูดได้อยู่ดีว่า ความคิดศาสนาพุทธใน “ความฝันในหอแดง” นั้นก็มาจากวรรณกรรมต่างประเทศ …
ไม่นานมานี้ ผมไปร่วมประชุมเกี่ยวกับการวิจารณ์นิยายเรื่องยาวเรื่องหนึ่ง ในงานนั้น อาจารย์เฉินซือเหอ จากมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น ได้ตั้งคำถามว่า งานวรรณกรรมต่างประเทศที่ถูกแปลเป็นภาษาจีนแล้วนั้น ถือว่าเป็นวรรณกรรมต่างประเทศ หรือว่าวรรณกรรมจีน? สำนวนภาษาในนิยายที่ถูกแปลมานี้ ถือเป็นภาษาของผู้เขียนหรือผู้แปล? นักเขียนอย่างเราๆ ที่ไม่รู้ภาษาต่างประเทศ พออ่านงานวรรณกรรมจากลาตินอเมริกาที่แปลเป็นภาษาจีนโดยคุณเจ้าเต๋อหมิง เจ้าเจิ้นเจียง หลินอี้อัน … (ชื่อนักแปลจีน) แล้ว สำนวนที่ใช้ในนิยายของเราเองก็เปลี่ยนไปด้วย สำนวนเราได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมลาตินอเมริกาหรือจากกลุ่มนักแปลเช่นคุณเจ้าเต๋อหมิงเล่า?
อาจารย์เฉินซือเหอเห็นว่า ดูจากแง่มุมทางวรรณกรรมแล้ว วรรณกรรมดีๆ ต่างประเทศที่ถูกแปลเป็นภาษาจีนแล้ว ก็ย่อมต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมจีนด้วย
ผมเห็นด้วยกับความเห็นนี้ ผมเห็นว่า นักแปลที่ดีคนหนึ่ง นอกจากเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาต่างประเทศแล้ว ยังจะเป็นผู้รู้ในภาษาแม่ด้วย เมื่อผสานทั้งสองเข้าด้วยกัน พวกเขาก็คือครูทางภาษา พวกเขาไม่เพียงใช้การทำงานอันล้ำเลิศทำให้เราได้เข้าใจเรื่องราวที่บอกเล่าโดยนักเขียนต่างประเทศ รู้เทคนิควิธีที่พวกเขาใช้ รู้ความคิดที่แสดงออกผ่านเรื่องราว นักแปลยังได้ช่วยพัฒนาภาษาแม่อันอุดมของเราด้วย การทำงานของพวกเขามีคุณูปการหาที่สุดไม่ได้ หากมองจากความหมายนี้แล้ว “สถาบันศึกษาค้นคว้าวรรณกรรมโลกแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง” นี้ ก็ไม่เพียงเป็นแค่สถาบันศึกษาค้นคว้า เป็นองค์กรที่แปลวรรณกรรมต่างประเทศเท่านั้น ทว่ายังเป็นอู่แห่งการบ่มเพาะเลี้ยงดูวรรณกรรมจีนด้วย สถาบันศึกษาค้นคว้าวรรณกรรมโลกนี้ไม่เพียงแต่ศึกษาค้นคว้าและแปลวรรณกรรมต่่างประเทศเท่านั้น หากยังเป็นห้องทดลองทางวรรณกรรมที่จะนำมาซึ่งปัจจัยอันสดใหม่แก่ภาษาจีนด้วย