ติดตามผลตู้หนังสือในบ้านเด็ก | ห้องสมุดการ์ตูน / แอนิเมชั่น | สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก

โครงการนี้เกิดจากความคิดว่า

การปฏิรูปการศึกษาต้องแก้ปัญหาการไม่อ่านหนังสือของคนไทย

สถาบันการ์ตูนไทยจึงร่วมมือกับโครงการปฏิรูปการศึกษาเพื่อเด็กและชุมชน

สร้างเวทีรักการอ่านสร้างสุขโดยจัดงานในชื่อ ” งดเหล้าเข้าพรรษาชวนกันมาอ่านสร้างสุข “

โดยใช้งบประมาณโครงการปฏิรูปการศึกษาเพื่อเด็กและชุมชน – มูลนิธิเด็ก นำร่อง
งานแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ที่ตำบลเลาขวัญ อ.เลาขวัญ กาญจนบุรี

มี อาจารย์ภัทรนันท์ เพิ่มพูล ผู้อำนวยการโรงเรียนเขานางสางหัว

โรงเรียนดีของชุมชนเป็นแม่งานประสานกับสมาคมโรงเรียนเลาขวัญ

โดยมี นายอำเภอเลาขวัญสนับสนุนเต็มที่ ได้ผู้นำท้องถิ่นมาร่วมหลายคน

และมีศ.เกียรติคุณอาจารย์ประเวศ วะสี มาปาฐกถาเรื่องการศึกษากับการอ่านสร้างสุข

ในงานนี้มีผู้นำชุมชนตำบลหนองโสน รับจัดงานเวทีกระตุ้นการอ่านต่อจากตำบลเลาขวัญ

ในวันที่ 7 ตุลาคม มีนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติและสมาชิกปฏิรูปประเทศไทย

มาปาฐกถา ” เรื่องการอ่านสร้างสุข ” ต่อมามีการจัดอบรมผู้นำการอ่าน

การสร้างหนังสือทำมือโดยครูปฐมวัยและเจ้าหน้าที่ศูนย์เด็กเล็ก ในการจัดอบรมผู้นำการอ่าน

โครงการได้เด็กนักเรียน 36 คน จาก 4 โรงเรียน รับเป็นเจ้าของ ” ตู้หนังสือในบ้านเด็ก ” ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2557


เมื่อวานวันที่ 25 ตุลาคม 2557 ครบ 1 เดือนพอดี

ดิฉันเป็นผู้ที่มีส่วนรับรู้โครงการนี้ตั้งแต่แรก จึงลงไปพื้นที่ ต.เลาขวัญ ต.หนองประดู่ และต.หนองนกแก้ว อ.เลาขวัญ กาญจนบุรี

ใช้เวลาเดินทาง4 ชั่วโมงครึ่ง เยี่ยมบ้านเจ้าของ ” ตู้หนังสือในบ้านเด็ก ” 12 บ้าน

ประทับใจมากที่เด็กเหล่านี้เป็นเด็กยากจน พ่อแม่เป็นชาวไร่

( ในอีสานกาญจนบุรี ที่เรียกเช่นนี้เพราะความแห้แล้งไม่แพ้ภาคอีสานเลย )

และเป็นแรงงานในโรงงานเล็ก ๆ แน่นอนฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวติดอันดับยากจนของประเทศ

เด็กวัย 10-12 ปีต้องช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ในจำนวนนี้มีพ่อแม่ไม่อยู่ที่นี่ต้องย้ายที่อยู่ไปตามที่ ๆ

มีงานทำทิ้งลูกให้ย่าและยายเลี้ยงดู เด็กเจ้าของตู้หนังสือในบ้านเด็ก

กลับทำหน้าที่เชิญชวนเพื่อนในบ้านข้างเคียงมาอ่าน ตัวเองก็อ่านหลังจากทำงานเสร็จ

เช่น ดญ.มุข อายุ 11 ปี อ่านแล้ว 15 เล่ม ชอบมากคือ

หมอเสม คนดี 4 แผ่นดินเพราะเป็นเรื่องที่คุณหมอช่วยคนหลายคน มีเพื่อนๆ 10 กว่าคนมานั่งอ่าน

พ่อของเด็กเห็นเด็กมาอ่านหนังสือจึงจัดพื้นที่ให้เด็กนั่งล้อมวงกันอ่านให้สบายใจ


ดญ.เอ๋ย อายุ 12 ปี อ่านแล้ว 40 เล่ม

ชอบหนังสืออีสปในสวนเพราะเป็นเรื่องที่เล่าถึงการให้อภัย และสามัคคี

ชอบหนังสืออุดมสุข เส้นโค้งของหัวใจ น้องเอ๋ยบอกอ่านเวลาที่เตรียมอาหารมื้อเช้าให้แม่เสร็จ

และแม่ไปทำงานในไร่ ก็มานั่งอ่าน เมื่อก่อนที่ไม่มีตู้หนังสือก็จะออกไปคุยกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ตอนนี้เลยชวนเพื่อนมาอ่านด้วย


ดญ.นิ้ง มีลูกพี่ลูกน้องอีก 3 คน วัย 12-13 ปี อยู่กับทวดบัว

น้องนิ้งเจ้าของตู้หนังสือกับญาติและเพื่อนบอกอ่านกันแล้ 42 เล่ม

พร้อมเอาหลักฐานคือสมุดเซ็นยืมมาให้ดิฉันดูเป็นพยานหลักฐาน


ดญ.แนน วัย 13 ปี เจ้าของตู้หนังสืออ่านแล้ว 30 เล่ม

และยังมีหน้าที่อ่านให้น้องวัยต่ำกว่า 10 ขวบฟัง แนนและลูกพี่ลูกน้องอีก 5 คนรวมเป็น 6 คนอยู่กับตายาย

แน่นอนแนนเป็นพี่คนโตภาระของบ้านจึงต้องเป็นของแนน

เมื่อวานตายายปล่อยให้แนนดูแลน้องเพราะต้องไปหาปลามาเป็นอาหารให้หลาน ๆ

หนังสือที่แนนชอบมี อีสปในสวน , สิ่งประดิษฐ์ของโลก


ยังมีน้องน้องน้ำ, น้องการ์ตูนซึ่งเป็นเด็กยากจนไร้บ้านวันนี้ไปไม่พบเพราะไปเฝ้าคุณพ่อที่โรง พยาบาล

เธอเป็นนักอ่านตัวยงและเป็นลูกกตัญญู ,

น้องพร, น้องกบ, น้องมิ้ว, น้องครีม , น้องฟะ, น้องปึก, น้องแซมซั่น, น้องปังปอนด์, น้องราม
นอกจากนี้เด็ก ๆ ยังชอบหนังสือ ยักษ์ยุ่น, วัยมันส์พันธ์อสูร, โรงเรียนเม็ดก๋วยจี๋,

หลวงพี่เอี้ยง, โลกอมยิ้ม, วันหนึ่งวันนั้นในร้านกาแฟ, บุญโฮมคนป่วง ฯลฯ


เด็ก ๆ ยากจนในพื้นที่ห่างไกลต้องการอ่านหนังสือ มาช่วยสนับสนุนตู้หนังสือในบ้านเด็กกันเถิด

เพียงตู้ละ 6,000 บาท จะทำให้เด็กยากจนในชนบทมีรอยยิ้ม

มีจินตนาการ และมีพัฒนาการทางสมองและทางสังคมอย่างถูกทิศทาง

รัชนี ธงไชย
ครูใหญ่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก – มูลนิธิเด็ก
26 ตุลาคม 2557


โครงการปฏิรูปการศึกษาเพื่อเด็กและชุมชน – มูลนิธิเด็ก | ห้องสมุดการ์ตูน / แอนิเมชั่น | สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก

โครงการปฏิรูปการศึกษาเพื่อเด็กและชุมชน – มูลนิธิเด็ก

วันที่ 21 ตค.2557 ดิฉันได้ติดตามผู้ประสานงานโครงการ ฯ

มารับฟังงานในปีนี้ของโรงเรียนปริยัติธรรม( สามเณร )

วัดนิโครธาราม โรงรียนสามเณร สำหรับเด็กยากจนและเด็กกำพร้าจำนวน 139 คน อ.ท่าวังผา จังหวัดน่าน

ท่านพระอาจารย์คงศิลป์ ผู้อำนวยการโรงเรียนท่านบรรยายการทำงานว่า ปี2556

เน้นที่เทศน์มหาชาติ เพราะเป็นประเพณีที่กำลังจะสูญหายไปจากอำเภอท่าวังผา

โรงเรียนนี้อยู่ในเขตตำบลหนองบัว พ่ออุ้ยยังคิดถึงประเพณีที่ดีนี้อยู่

ทางโรงเรียนฯ จึงปฏิรูปโดยการจัดการศึกษาแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ ( PLC )

นั่นคือ พระอาจารย์ผู้อำนวยการโรงเรียนท่านจัดให้เณรเรียนกับผู้รู้ในแต่ละพื้นที่

เช่นเทศน์มหาชาติท่านมีพ่ออุ้ยซึ่งเคยบวชพระและเทศน์เก่งมาสอน พุทธศิลป์

ท่านพาเณรมาเรียนกับเจ้าอาวาสวัดที่อยู่ไม่ไกลจากวัดนิโครธารามซึ่งเป็นที่

ตั้งของโรงเรียน ฯ เณรและครูเก็บข้อมูลชุมชนหนองบัว

โดยมี่ท่านเจ้าอาวาสวัดหนองบัวเป็นผู้สอนทำให้รู้จักวัดหนองบัวมากขึ้น

วัดนี้มีภาพฝาผนังโบสถ์ยุคเดียวกับวัดภูมินทร์

ดิฉันชอบไปวัดตอนบ่ายฟังสะล้อ ซอ ซึง ของชมรมผู้เฒ่าจาก 3 อุ้ย

และจะสมทบเงินช่วยชมรม ฯ ปลายปีที่แล้วโรงเรียน ฯ จัดงานประกวดเทศน์มหาชาติ

โดยมีเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม 3 โรงเรียนมาเทศน์ให้กรรมการฟัง

อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ท่ายบรรยายให้แขกและครูเข้าใจในความสำคัญของเทศน์มหาชาติ

ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนมาเยี่ยมชมหมู่บ้านเด็ก เกิดแรงบันดาลใจคิดว่าจะทำโครงการหมู่บ้านเณร

เพราะมีเณรหลายคนที่เป็นกำพร้า ดิฉันได้เสนอแนะท่านในแนวคิดการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ให้ท่านฟัง

ท่านจึงเริ่มนำความคิดของการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มาใช้โครงการนี้

และใ นปีนี้ ปี2557 ท่านปรับกระบวนการเรียนรู้ให้มีทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ฯลฯ

มาทำหลักสูตรและลงมือปฏิบัติเสริมหลักสูตรดนตรี กลองสะบัดชัย

ซึ่งวัดเป็นต้นกำเนิดสอนพระและเณร สวดเบิก สลากภัตร ปาฐกถาธรรม

นำมาเป็นหลักสูตรการเรียนด้วย พบว่าหลักสูตรท่านใช้ประสาทสัมผัสทั้งหก

และการสร้างเซลล์สมองเชื่อมซีกซ้ายและซีกขวา โดยการใช้มือตีกลองไขว้ไปมา

การลงมือทำในบรรยากาศสงบเท่ากับเณรได้ปฏิบัติและมีผลต่อการจดจำ

ครูทุกท่านบอกมีความสุขในการทำงานขึ้นหลังจากปรับหลักสูตรใหม่

มูลนิธิเด็กให้ทุนสนับสนุน 75% น่าปลื้มใจที่แผนงานปี 2558 ท่านจะทำอาศรมสามเณรอีกโครงการหนึ่ง

โรงเรียนพระปริยัติธรรม มุ่งให้เด็กเรียนเพื่อเอาวุฒิการศึกษาสำหรับเด็กยากจนที่มาอาศัยเรียน

และ หวังว่าจะสึกไปประกอบอาชีพ ส่วนอาศรมสามเณรฝึกการภาวนา

และเตรียมให้เสามเณรเป็นพระภิกษุที่พัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุด (อรหันต์ )

ดิฉันไปร่วมร่างหลักสูตรทั้ง สองแห่งด้วย และมีเพื่อนจากสถาบันพุทธนานาชาติมาร่วมทำงานด้วย

รัชนี ธงไชย
ครูใหญ่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก


พลังเด็ก เปลี่ยนโลก – เด็ก 5 ขวบ จะทำอะไรได้ #1 | ห้องสมุดการ์ตูน / แอนิเมชั่น | สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก

พลังเด็ก เปลี่ยนโลก – เด็ก 5 ขวบ จะทำอะไรได้ 1

การทำสิ่งเล็ก ๆ ด้วยด้วยความคิดของเด็กตัวเล็ก ๆ
มาจากหัวใจที่อยากช่วยเหลือผู้อื่น
อาจจะเป็นจุดกำเนิดของสิ่งที่ยิ่งใหญ่และส่งผลต่อสังคม

บางครั้ง เราก็มีคำถามว่า เราจะลดความเหลื่อมล้ำ ของคนในสังคม ได้อย่างไร
ผู้ใหญ่หลายคนอาจจะคิดมากมาย คิดจนลืมไปว่า
การเริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ นี้แหละ อาจจะช่วยโลกเราได้อย่างแท้จริง

เพราะความคิดของเด็กมาพร้อมหัวใจที่ห่วงใยผู้อื่นอย่างแท้จริง
ผลประโยชน์ที่เด็กต้องการคือการได้รับการชื่นชม กำลังใจ
และการช่วยเหลือจากพ่อแม่ และคนไกล้ชิดเท่านั้น

แคทเทอรีน อายุเพียง 5 ขวบ ที่มีจุดเริ่มต้นของความต้องการช่วยเหลือผู้อื่น
นี่คือเรื่องเล่าของเธอ ที่กำลังเป็นกระแส ในโชเชียลเน็ตเวิร์คของไทย ในขณะนี้

เรื่องราวที่แปลเป็นภาษาไทย มาจากเฟซบุ๊ค @ Chanyut Nuntasuk
ที่แชร์ต่อ ๆ กันมา ขอขอบคุณที่แปลเรื่องราวที่ประทับใจ เหล่านี้ค่ะ

2006-4-6…..Katherine Commale อายุเพียง 5 ขวบ

ได้ดูสารคดีเกี่ยวกับทวีปแอฟริกา บอกว่า เฉลี่ย 30 วินาที จะมีเด็กคนหนึ่งตายเพราะโรคมาลาเรีย

เธอขดตัวอยู่บนโซฟา แล้วก็เริ่มนับนิ้ว 1-2-3-4….. ตอนเธอนับถึง 30 ก็สีหน้าตกใจ ตะโกนบอกแม่ว่า

“แม่ ๆ เด็กแอฟริกาตายไปแล้ว 1 คน เราต้องทำอะไรสักอย่าง”

แม่เธอก็เข้าหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต แล้วบอกแคตเธอรีนว่า

“มาลาเรียเป็นโรคที่น่ากลัว เด็ก ๆ เมื่อเป็นโรคนี้ มักจะเสียชีวิต”

“แล้วทำไมถึงเป็นมาลาเรีย ?”

“มาลาเรียติดต่อโดยยุง แอฟริกามียุงเยอะมาก”

“แล้วทำไงดี ?”

“ตอนนี้มีมุ้งที่แช่น้ำยากันยุง เมื่อมีสิ่งนี้ ก็จะป้องกันคนไม่โดนยุงกัด”

“แล้วทำไมพวกเขาไม่ใช่มุ้งแบบนี้ละ ?”

“มุ้งนี้แพงเกินไปสำหรับพวกเขา ๆ ไม่มีปัญญาซื้อ”
“ไม่ได้ เราต้องทำอะไรแล้ว”

ผ่านไปหลายวัน แม่ได้รับโทรศัพท์จากครูที่ รร อนุบาล บอกว่า แคตเธอรีนไม่ได้จ่ายค่าขนม

แม่ถามแคตเธอรีน เงินไปไหน

“ถ้าหนูอยู่ รร ไม่กินขนม ปกติไม่กินจุกจิก ไม่ซื้อตุ๊กตาบาร์บี้ อย่างนี้พอจะซื้อมุ้งได้ไม๊คะ ?”

แม่พาแคตเธอรีนไปห้าง ใช้เงิน 10 เหรียญ ซื้อมุ้งใหญ่ ๆ อันหนึ่ง พอเด็ก 4 คน แล้วก็โทรหาองค์กรการกุศลที่ทำงานในแอฟริกา ว่าจะส่งมุ้งไปได้ยังไง และก็บังเอิญเจอหน่วยงานนึ่งที่ชื่อ Nothing but net “ไม่เอาอะไรนอกจากมุ้ง”

หน่วยงานนี้ จะส่งมุ้งไปให้เด็กแอฟริกาโดยเฉพาะ แคตเธอรีนจึงจัดการส่งมุ้งไปให้หน่วยงานนี้ด้วยมือของตัวเอง

ผ่านไป 1 สัปดาห์เธอได้รับจดหมายขอบคุณจากหน่วยงานนี้ ใน จม. บอกว่าเธอเป็นผู้บริจาคที่อายุน้อยที่สุด และบอกอีกว่า ถ้าบริจาคครบ 10 อัน จะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ

แคตเธอรีนขอให้แม่ไปเปิดท้ายขายของกับเธอ เอาหนังสือเก่า ของเล่น เสื้อผ้าเก่ามาขาย ๆ ได้เงินจะได้เอาไปบริจาค แต่ขายไม่ดีเลย เธอคิดว่า “ตอนหนูบริจาคมุ้ง เขายังให้ใบประกาศเกียรติคุณ งั้นคนอื่นซื้อของหนู ให้เงินหนู งั้นเขาก็ต้องได้รับเหมือนกันเน๊าะ”

แล้วเธอก็เริ่มลงมือทำ ใบประกาศเกียรติคุณ แม่ช่วยเธอซื้อวัสดุ พ่อช่วยจัดห้อง น้องชายช่วยวาดรูปหัวใจแห่งรัก ใบประกาศเกียรติคุณทุกใบมีลายมือที่เขียนโดยตัวเธอเองว่า “ในนามของคุณ เราได้ซื้อมุ้ง 1 อัน ส่งไปแอฟริกา” แน่นอน มีลายเซ็นต์เธอด้วย
แค่บริจาค 10 เหรียญ ซื้อมุ้ง 1 อัน ก็จะได้ใบประกาศเกียรติคุณ
เพื่อนบ้านเห็นใบประกาศเกียรติคุณของเธอ รู้สึกว่าไร้เดียงสาอย่างน่ารักมากและก็ซาบซึ้ง แค่ไม่นาน ใบประกาศเกียรติคุณก็ถูกแจกออกไป 10 ใบ
เธอก็ส่งเงินไปที่หน่วยงาน “ไม่เอาอะไรนอกจากมุ้ง” หน่วยงานก็ส่งใบประกาศเกียรติคุณและตั้งเธอเป็น “ทูตแห่งมุ้ง”

คนที่หน่วยงานบอกแคตเธอรีนว่า มุ้งที่เธอบริจาคถูกส่งไปยังหมู่บ้านหนึ่งในประเทศกาน่า ในหมู่บ้านมี 550 คน
“โอ่ พระเจ้า แล้ว 10 อันพอใช้ที่ไหน”

เพื่อนบ้านนอกจากซื้อมุ้งจากแคตเธอรีนยังช่วยเธอทำใบประกาศเกียรติคุณ กลายเป็นทีมงานแคตเธอรีน
บาทหลวงในชุมชนก็เชิญเธอไปพูดในโบสถ์ พูดแค่ 3 นาที ก็ได้เงินบริจาคมา 800 เหรียญ ทำให้เธอมีกำลังใจเพิ่มขึ้นมาก เดินทางไปพูดที่โบสถ์อื่น ตอนเธออายุครบ 6 ขอบ ได้รับเงินบริจาคแล้ว 6316 เหรียญ

“ไม่เอาอะไรนอกจากมุ้ง” เอาเรื่องของเธอลงในเวป วันหนึ่งเธอเห็นเบคแฮ่มปรากฎตัวทาง TV ช่วยทำประชาสัมพันธ์การกุศลให้ “ไม่เอาอะไรนอกจากมุ้ง” เธอรีบเขียนจดหมายขอบคุณไปให้เขา และแน่นอน เธอได้ส่งใบประกาศเกียรติคุณไปให้เขาด้วย 1 ใบ จากนั้นเบคแฮ่มเอาใบประกาศเกียรติคุณนี้ขึ้นเวปส่วนตัว เรื่องจึงแพร่กระจายออกไปอีก

2007-6-8…. เธอได้รับจดหมายจากหมู่บ้านที่รับมุ้ง เด็กในหมู่บ้านเขียนว่า

“ขอบคุณมุ้งของเธอ เราเห็นรูปเธอ เรารู้สึกว่าเธอสวยมาก”

แคตเธอรีนดีใจมาก ทำให้มีกำลังใจเพิ่มอีก เธอและทีมงานลงมือทำใบประกาศเกียรติคุณ 100 ใบ ส่งให้มหาเศรษฐีที่ติดอันดับในนิตยาสาร ฟร๊อบ

ในนั้นมีอยู่ใบนึงเขียนว่า “คุณบิลเกตที่เคารพ ไม่มีมุ้ง เด็กแอฟริกาจะตายเพราะมาลาเรีย พวกเขาต้องการเงิน แต่เงินอยู่ที่คุณ….”

2007-11-5….. มูลนิธิบิลเกตประกาศบริจาคเงิน 3 ล้านเหรีญให้ “ไม่เอาอะไรนอกจากมุ้ง”

บิลเกตบอกว่า “ผมได้รับใบประกาศเกียรติคุณพร้อมจดหมายฉบับหนึ่ง บอกว่า เงินที่ซื้อมุ้งให้เด็กแอฟริกาอยู่ที่ผม ถ้าผมไม่เอาเงินออกมา ไม่ได้แน่”

ปี 2008….. มูลนิธิบิลเกตออกเงินถ่ายทำสารคดี “เด็กช่วยเด็ก” แคตเธอรีนจึงได้เหยียบแผ่นดินแอฟริกา ตอนเธอเห็นพวกเด็ก ๆ เขียนชื่อเธอไว้บนมุ้ง พวกเขาเรียกมุ้งช่วยชีวิตนี้ว่า “มุ้งแคตเธอรีน”

หมู่บ้านนี้ เดี๋ยวนี้ชื่อว่า “หมู่บ้านแคตเธอรีน”

หนูน้อยแคตเธอรีนอายุ 7 ขวบ ได้ช่วยชีวิตเด็กแอฟริกาแล้ว 20,000 คน

พลังของความบริสุทธิ์นี้ จะยิ่งมายิ่งแรง เพราะทุกหัวใจของทุกคน ล้วนมีเด็กที่จิตใจบริสุทธิ์อาศัยอยู่



เธอยังคงทำเรื่องที่เธอสนใจอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
ติดตามอ่านข่าวและติดตามโครงการของแคทเทอรีน ได้ที่เว็บไซต์
http://www.nothingbutnets.net/act/champions/lynda-katherine.html



ศิลป์สโมสร : สูตรสำเร็จนวนิยายขายดี (6 ส.ค. 57) | ห้องสมุดการ์ตูน / แอนิเมชั่น | สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก

เผยแพร่เมื่อ 6 ส.ค. 2014

ตลาดนิยาย ที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน ทำให้การเขียนนิยายสักเรื่อง จะต้องคำนึงถึงความต้องการของนักอ่านเพื่อ­นำ มาสร้างเป็นพล็อตเรื่อง ศิลป์สโมสร วันนี้ไปพูดคุยกับนักเขียนเจ้าของนามปากกา “ซ่อนกลิ่น” และบรรณาธิการที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ­ของนิยายรักเรื่องดังมากมาย

ติดตาม ชมได้ในรายการศิลป์สโมสร วันพุธที่ 6 สิงหาคม เวลา 13.00 – 13.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
—————————————-­—————
ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : www.thaipbs.or.th
Facebook : www.fb.com/ThaiPBSFan
Twitter : www.twitter.com/ThaiPBSNews
Instagram : www.instagram.com/ThaiPBS
Google Plus : www.gplus.to/ThaiPBS
Youtube : www.youtube.com/ThaiPBS

วันสิ่งแวดล้อมโลก forests : nature at your service – infographic | ห้องสมุดการ์ตูน / แอนิเมชั่น | สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก

คําขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก 2557 : ยกระดับความคิด แก้วิกฤตน้ำท่วมโลก (Raise you voice not the sea level)

Graphic by Ben : https://www.facebook.com/Tato.Benjarut


nature day ร่วมอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่กับโลกใบนี้ – infographic | ห้องสมุดการ์ตูน / แอนิเมชั่น | สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก

คําขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก 2557 : ยกระดับความคิด แก้วิกฤตน้ำท่วมโลก (Raise you voice not the sea level)


Graphic by Aum : https://www.facebook.com/WTHollowerZ


วิธีการจัดการสิ่งแวดล้อมช่วยลดภาวะโลกร้อน – infographic | ห้องสมุดการ์ตูน / แอนิเมชั่น | สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก

คําขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก 2557 : ยกระดับความคิด แก้วิกฤตน้ำท่วมโลก (Raise you voice not the sea level)

Graphic by Bank : https://www.facebook.com/pages/Keygen-PD/282811651779544


วิธีลดโลกร้อน – infographic | ห้องสมุดการ์ตูน / แอนิเมชั่น | สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก

คําขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก 2557 : ยกระดับความคิด แก้วิกฤตน้ำท่วมโลก (Raise you voice not the sea level)

graphic by Bua : https://www.facebook.com/buabee.art


ผลงานที่ส่งเข้าประกวด กรรมสิทธิ์ในชิ้นงานเป็นของใคร ? | ห้องสมุดการ์ตูน / แอนิเมชั่น | สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก


            มีนักการ์ตูนได้สอบถามเข้ามาที่สถาบันฯหลายท่าน เรื่องการส่งผลงานเข้าประกวด และในกติกาของการแข่งขันระบุว่า “ผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้าประกวดในกิจกรรมครั้งนี้จะถือเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท…(ที่จัดกิจกรรม) เท่านั้น” นักเขียนจึงอยากทราบว่า ข้อความนี้ มีผลเฉพาะผลงานที่เข้าร่วมประกวดและได้รางวัล หรือว่าผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวด ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัททั้งหมด ในกรณีที่ส่งผลงานประกวดส่วนใหญ่แล้วหากผลงานได้รับรางวัล ผลงานจะเป็นของบริษัทกี่ปี เป็นเหมือนกับการซื้อ วรรณกรรมหรือซื้อขาดภาพ และงานที่ไม่ได้รางวัลนั้นยึดถือกติกาเหมือนกันหรือไม่ หรือว่าเป็นสิทธิของผู้สร้างสรรค์เพราะไม่ได้รางวัล

สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก จึงได้สอบถามไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญา และได้คำตอบมาดังนี้


คำตอบ


กรรมสิทธิ์หมายถึง สิทธิทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จําหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 

ลิขสิทธิ์หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใด ๆ กับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ 9 ประเภท ได้แก่ งานวรรณกรรม (หนังสือ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์) นาฏกรรม (การรำ การเต้น การทำท่าทาง)  ศิลปกรรม (รูปภาพ รูปสลัก รูปถ่าย)  ดนตรีกรรม (เนื้อร้อง ทำนองเพลง การเรียบเรียงเสียงประสาน) โสตทัศน์วัสดุ (ซีดี ดีวีดี) ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง (เทปทึกเสียง วีซีดี) งานแพร่เสียงแพร่ภาพ (วิทยุ/โทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ) หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะ
 
ตัวการ์ตูนเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรม ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์ โดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาแต่อย่างใด และพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ ให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ในการ ทำซ้ำ (เช่นสำเนา คัดลอกทั้งหมดหรือบางส่วน)
ดัดแปลง (ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจากงานเดิม วาดเพิ่มเติม) เผยแพร่ต่อสาธารณชน (ทำให้ปรากฏต่อประชาชนเช่นโดยการแสดง การจำหน่าย) ให้เช่า โอน อนุญาตให้ผู้อื่นใช้งาน อันมีลิขสิทธิ์ ฯลฯ  ดังนั้น การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

จากกรณีคำถาม การระบุข้อความ “ผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้าประกวดในกิจกรรมครั้งนี้จะถือเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท…(ที่จัดกิจกรรม) เท่านั้น”คำว่ากรรมสิทธิ์ที่ได้ระบุบในข้อความดังกล่าวหมายถึง
ผลงานหรือสิ่งที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด (หากวาดภาพลงบนกระดาษก็จะหมายถึงรูปการ์ตูนบนกระดาษแผ่นที่ส่งเข้าประกวดจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จัดการประกวด) แต่มิได้หมายความรวมถึงลิขสิทธิ์ในตัวการ์ตูนซึ่งเป็นลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ และผู้จัดการประกวดไม่สามารถนำตัวการ์ตูนดังกล่าวไปจัดตีพิมพ์หรือเผยแพร่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานดังกล่าว
 
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาข้อความดังกล่าวแล้วผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จัดการประกวด แต่ลิขสิทธิ์ในผลงานที่ได้ส่งเข้าประกวด (สิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน) ยังคงเป็นของผู้สร้างสรรค์  ทั้งภาพที่ได้รับรางวัลและภาพที่ไม่รับรางวัล ทั้งนี้
ผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมดหากจะมีการตกลงเพื่อซื้อขายหรือโอนลิขสิทธิ์ก็ขึ้นอยู่กับคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย 
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโดยตรงได้ที่สำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร  0-2547-4633  


หวังว่าจะสามารถตอบคำถามของนักการ์ตูนหลายท่านที่สงสัย

และหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจนะคะ

สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก

๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๖


ของขวัญวันเด็ก หยอย – ศศิ วีระเศรษฐกุล | ห้องสมุดการ์ตูน / แอนิเมชั่น | สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก

 ของขวัญวันเด็ก หยอย – ศศิ วีระเศรษฐกุล

 ART EYE VIEW—หยอย – ศศิ วีระเศรษฐกุล เจ้าของผลงานหนังสือภาพหลายเล่ม และเพจ “การเดินทางของพระจันทร์” ที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น
       
       มี “ของขวัญปีใหม่และวันเด็ก” ให้กับแฟนเพจของเขา เป็นภาพวาดสีน้ำภาพนี้ เพื่อแทนคำอวยพรให้เป็น “ปีและวันที่สดใส” สำหรับผู้ใหญ่และเด็กๆทุกคนที่ชื่นชอบผลงานของเขา
       
       นักวาดภาพประกอบ ผู้ที่พ่อแม่ตั้งชื่อให้ดูคล้ายผู้หญิง เพื่อข่มความดื้อของเขาเมื่อครั้งเป็น “เด็กชาย” บอกไอเดียในการเขียนภาพนี้ว่า
       
       “เวลาที่ไปเดินตามห้างสรรพสินค้าในช่วงปีใหม่ ผมชอบในบรรยากาศที่ครอบครัวจูงลูกจูงหลานมาเที่ยว ก็เลยเอาไอเดียตรงนั้นมาเขียนภาพๆนี้ เพราะอยากจะให้ทุกคนมีความสุขเหมือนเมื่อตอนเป็นเด็ก ที่ได้ไปเที่ยว ไปอะไร และอยากให้ปีนี้เป็นปีที่สดใสสำหรับทุกคนไปตลอดทั้งปี”

  แฟนเพจในโลกออนไลน์อาจแปลกใจ ที่ในช่วงส่งท้ายปีเก่าที่ผ่านมา เพจโชว์ผลงานภาพสีน้ำของเขาจะไร้การอัพเดท เหตุเพราะหยอยไปทำหน้าที่เจ้าบ่าวให้กับหญิงสาวคนรักซึ่งมีอาชีพเป็นเภสัชกรอยู่ที่เมืองย่าโม
       
       และขณะนี้เขาได้กลับมาทำงานหลายอย่างที่พร้อมจะขับเคลื่อนไปด้วยในช่วงเวลานี้ ไม่ว่าจะงานในฐานะ สถาปนิกอิสระ ตามที่ร่ำเรียนจบมาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,ครูสอนวาดภาพสีน้ำแห่ง “วาด สตูดิโอ” ,นักวาดภาพประกอบ และดูแลเพจบน facebook ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว แม้เขาจะมองว่าเป็นเพียงงานอดิเรก และเป็นอีกช่องทางที่ทำให้เขาได้สื่อสารกับแฟนผลงาน

   >>>เรื่องราวน่ารัก ภาพสีน้ำสบายตา
       
       สมัยเรียนอยู่ปี 3 หยอยคืออดีตเจ้าของรางวัลชนะเลิศการออกแบบที่อยู่อาศัยให้กับคนชรา ซึ่งจัดโดย สหประชาชาติ และมีนักศึกษาด้านสถาปัตย์จากทั่วโลกส่งผลงานเข้าประกวด
       
       เริ่มทำงานแรกหลังจากที่เรียนจบที่ บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด,มีผลงานภาพประกอบปราฎครั้งแรกในนิตยสารa day ต่อเนื่องไปถึงการภาพประกอบให้ สำนักพิมพ์ลายเส้น,สำนัก booktopia และมูลนิธิเด็ก แต่ผลงานของเขาเป็นที่รู้จักเป็นมากในช่วงเวลาที่ Something Sometime Somewhere Everyday หนังสือภาพเล่มที่ 3 ที่เขาทำร่วมกับ สำนักพิมพ์ full stop คลอดออกมา
       
       และเหตุที่ผลงานของเขาเป็นที่ประทับใจผู้คน แฟนผลงานของเขาสะท้อนว่า นำเสนอเรื่องราวได้น่ารัก ด้วยภาพสีน้ำที่ดูแล้วสบายตา 
       
       “ผมชอบสีน้ำ และส่วนใหญ่จะทำงานที่เขียนด้วยมือให้จบเลยครับ คนอื่นเขาอาจจะใช้คอมพิวเตอร์ ใช้โฟโต้ชอป หรือใช้อย่างอื่นในการลงสี 
       
       ชอบสีน้ำ เพราะว่าเราชอบอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น สมัยก่อน การ์ตูนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ จะใช้สองเทคนิคในการวาด คือ สีโปสเตอร์ กับสีน้ำ แต่สีโปสเตอร์ผมลองแล้วไม่ค่อยชอบ เลยมาจบที่สีน้ำ ฝึกเรื่อยมา
       
       และอีกอย่างที่ทำให้ชอบสีน้ำ เพราะตอนเรียนต้องใช้ ด้วย เป็นเหมือนกับสีจำเพาะที่ต้องมาลง ตอนพรีเซ้นต์แบบ
       
       ผมพยายามเลือกใช้โทนสีที่ดูแล้วสบายๆ สื่อถึงความน่ารัก และใช้เทคนิคเรียบง่าย ไม่ใช้เทคนิคเยอะ”

   >>> นักวาดภาพประกอบ ชอบจดบันทึก
       
       เรื่องราวที่ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพและประโยคสั้นๆมีเคียงมาพร้อมกับภาพวาดสีน้ำ ส่วนหนึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจาก นิสัยที่ชอบจดบันทึก
       
       “ผมเริ่มมาจาก การเป็นคนที่ชอบจดไดอารี่ เพื่อบันทึกว่าแต่ละวันไปเจออะไรมาบ้าง เริ่มมาจากการเขียนเพื่อเตือนตัวเอง เวลามีความทุกข์ เวลาเจอปัญหา ก็พยายามเขียนเตือนตัวเองว่า มันยังมีเรื่องที่ดีอยู่ เริ่มมาจากตรงนั้นก่อน ทีนี้ก็เลยเขียนมาเรื่อยๆ เอาเรื่องนู้นเรื่องนี้มาประกอบกัน เรื่องที่เห็น กับเรื่องในความคิดของเรา”
       
       ดังนั้น อุปกรณ์เขียนสีน้ำ,สมุดเขียนสีน้ำ และสมุดจดบันทึก จึงกลายเป็นสิ่งที่เขาต้องพกติดตัว ในเวลาที่เดินทางไปไหนต่อไหนเสมอ 
       
       “ถ้าเกิดไม่ใช่งาน ก็จะเขียนได้ทุกที่ แต่ถ้ามันงานที่ต้องทำเป็นหนังสือ อันนี้ต้องการที่เงียบๆครับ เพราะว่าเวลาไปเที่ยวไปอะไร ผมก็จะสเก็ตซ์อยู่แล้ว ตามร้านกาแฟ ตามอะไรอย่างนี้ครับ บางทีเห็นที่สวยๆ ผมก็นั่งเขียน”

     >>>ปีใหม่ และเป้าหมาย
       
       ปีนี้หยอยยังวางแผนให้กับงานในแต่ละด้านไว้ว่า งานสถาปนิกเน้นทำตามกำลัง และงานในฐานะครูสอนวาดรูป เปรียบกับการเล่นฟุตบอล ตำแหน่งของเขาเป็นเพียงผู้ร่วมเตะ 
       
       “ เหมือนผมไม่ได้เป็นโค้ช แต่ผมคือผู้ร่วมเตะไปกับนักเรียน แต่ว่าอยู่คนละตำแหน่งเท่านั้นเอง”
       
       งานหนังสือภาพเขาตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าต้องมีตีพิมพ์อย่างน้อยปีละ 1 เล่ม 
       
       “พยามสร้างวินัยให้ตัวเอง ก็เหมือนกับทุกคน ที่พอถึงปีใหม่ จะตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง เช่น ปีนี้ฉันไปเที่ยวต่างประเทศ ฉันจะมีรถซักคัน ผมก็พยายามตั้งแบบนี้เหมือนกัน”
       
       ส่วนบนหน้าเพจ “การเดินทางของพระจันทร์” พื้นที่ซึ่งมีแฟนเพจทวีจำนวนมากขึ้น เขาเลือกที่จะใช้เป็นพื้นที่ของการสื่อสารและตอบคำถามเฉพาะเรื่องงานภาพวาดสีน้ำเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาเคยประสบกับปัญหาเรื่องการบอกเล่าทุกอย่างที่เป็นความรู้สึกส่วนตัวผ่านโลกออนไลน์
       
       “ปัญหาคือ แต่ก่อน เราลงเกือบทุกเรื่องที่เป็นเรื่องความรู้สึกของเรา ผมก็เลยมองว่า ถ้าเกิดเราตั้งคอนเซ็ปต์ว่ามันเป็นเพจนำเสนอผลงานสีน้ำ ก็ควรจะต้องมีแต่ผลงาน ถ้ามันชัดขึ้นปัญหามันก็น้อยลง 
       
       ประโยชน์จากเฟซบุ๊ค ส่วนตัว ผมได้สื่อสารกับคนที่ชอบอะไรเหมือนกัน อย่างที่สองเราเป็นนักเขียน เราไม่มีโอกาสเลยที่จะได้พูดคุยกับคนอ่าน ตรงนี้เป็นช่องทางนึงที่เราจะได้พูดคุยกับเขา ในเรื่องผลงาน ในเรื่องของตัวหนังสือ ซึ่งมันสะดวก 
       
       และอีกอย่างหนึ่งคนที่เขาติดตามผลงานของเรา เขาจะได้รู้ด้วยว่า เล่มใหม่จะออกเมื่อไหร่ จะมีผลงานอะไรอีกบ้าง”
       
       หยอยบอกว่า เขาเป็นคนหนึ่งที่ไม่ใช้ facebook ส่วนตัว นอกจากหน้าเพจนำเสนอผลงาน และเลือกที่จะบริหารความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทผ่านช่องทางอื่น
       
       “เพื่อนที่สนิทๆกันก็ไปมาหาสู่ โทรศัพท์คุยกันอยู่แล้ว และผมพยายามกรองข้อมูลที่จะเข้ามาในหัว facebook มันมีประโยชน์คือเราได้รับรู้ข่าวสาร แต่บางทีมันก็มากเกินไป มันต้องกรองตรงนี้ ผมคิดว่าเรื่องมิตรภาพ หรือว่าเรื่องเพื่อน มันติดต่อกันได้หลายทาง”

  >>>วันเด็กยังอยู่กับผมเสมอ


       
       นอกจากนี้เขายังวางแผนการใช้ชีวิตไว้ว่าต้องหมั่นดินทางมากขึ้น เพื่อจะได้มีเวลาให้กับคนรักที่ทำงานอยู่คนละที่ แต่ยังไม่มีแผนมีทายาทตัวน้อยๆในเร็วๆนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าวัยและวันจะผ่านไปอีกแค่ไหน เขาบอกว่า ภายในพยายามรักษาความเป็นเด็กเอาไว้ เพื่อให้งานที่ทำในแต่ละวัน มีอะไรให้น่าตื่นเต้นอยู่เสมอ
       
       “จริงๆแล้วมันก็เกี่ยวข้องกับงานของผมพอสมควร คือความเป็นเด็ก มันก็เป็นแรงบันดาลใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ผมทำหนังสือภาพ ผมพยายาม keep ความเป็นเด็กไว้ค่อนข้างเยอะ อย่างเช่นงานที่ออกมา จะเห็นว่าผมไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ ผมใช้อุปกรณ์เครื่องเขียน ที่ต้องใช้มือเขียน ทั้งสีไม้ สีน้ำ 
       
       ผมพยายาม keep ความเป็นเด็กเหมือนตอนที่ผมวาดรูปเมื่อตอนเป็นเด็ก พยายามใช้คอมพิวเตอร์ ให้น้อยที่สุด เรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต พยายามมองสองด้าน มองด้านที่เราเป็นผู้ใหญ่ กับ ด้านที่เราไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน ผมพยายามมองให้มันเป็นสองแง่ เหมือนกับเอามาวิเคราะห์ดูว่า แบบไหนมันถึงจะเอามาบอกเล่ากับคนแล้วเข้าใจง่ายที่สุด”
       
       ย้อนกลับไปนึกถึงวันเด็กที่ตัวเอง เคยเป็นส่วนหนึ่งเมื่ออดีต ภาพที่ยังฉายชัดอยู่ในความทรงจำของหยอย คือภาพต่างๆดังต่อไปนี้
       
       “นึกถึงการประกวดวาดภาพระบายสี ผมอยู่ต่างจังหวัด มันก็จะมีงานตามสถานที่ต่างๆ เช่น สถานที่ราชการ สวนสัตว์ ฯลฯ เขาจะมีกิจกรรมให้เล่นเพื่อชิงรางวัล และทุกที่ต้องมีคือ กิจกรรมวาดรูป ผมสนุกกับตรงนั้น เหมือนเป็นสนามให้เราพบปะผู้คน ได้ขนม และพวกเครื่องเขียน(ยิ้ม)”

 >>> แค่อารมณ์และความรู้สึกยังไม่พอ
       
       ในฐานะที่แฟนผลงานเป็นเด็กๆจำนวนไม่น้อย หยอยมีคำแนะนำให้กับน้องๆที่อยากมีความสุขกับการทำงานแบบเขาว่า
       
       “อย่างแรก เราต้องสนุกกับมันก่อน ห้ามท้อแท้ เพราะว่าจริงๆแล้วเรื่องการวาดรูป มันเป็นเรื่องสนุก เราก็ต้องทำให้มันสนุก มันจึงจะทำต่อเนื่องได้ยาวนาน เราต้อง enjoy กับสิ่งที่เราทำ 
       
       อีกอย่าง ถ้าเพิ่งเริ่มต้น อย่าเพิ่งไปมองเรื่องพัฒนาการ เราต้องคุยกับตัวเองเยอะๆ คุยว่า เราทำแล้วเราสนุกหรือเปล่า เราทำแล้วเรามีความสุขหรือเปล่า เพราะว่าส่วนใหญ่ที่ทำแล้วท้อก็คือ ทำแล้วเอาไปให้คนอื่นดู พอคนอื่นไม่ชอบ เขาตำหนิ เราก็ท้อไม่อยากทำต่อ ฉนั้นต้องคุยกับตัวเองมากๆ เหมือนกับว่าต้องสนุกกับสิ่งที่ตัวเองทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานภาพประกอบหรืองานอะไรก็ตาม”
       
       และที่สำคัญ ถ้ารักแล้ว อย่าลืมใส่เรื่องของวินัยลงไปด้วย
       
       “เมื่อเราเลือกที่ทำงานชิ้นไหนให้เป็นจริงเป็นจัง หรือเป็นอาชีพแล้วเนี่ย สิ่งที่มันจะเสริมให้งานของเราออกมาดี มีคุณภาพ เราต้องใส่เรื่องความมีวินัยเข้าไป
       
       เราผ่านประสบการณ์มาแล้ว เรารู้ว่าแค่อารมณ์และความรู้สึกอย่างเดียว มันไม่ทำให้งานมีออกมาเป็นชิ้นเป็นอันได้ แต่มันต้องมีการวางแผน ไม่ว่างานอะไร มันต้องมีการลงแรง ทุ่มเท ต้องแบ่งเวลา”
       
       Text : ฮักก้า Photo : ธัชกร กิจไชยภณ

ที่มา : http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9560000002715